สถิติผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday5
mod_vvisit_counterYesterday73
mod_vvisit_counterThis week471
mod_vvisit_counterLast week415
mod_vvisit_counterThis month1891
mod_vvisit_counterLast month2353
mod_vvisit_counterAll days528213

Online (20 minutes ago): 2
Your IP: 44.192.132.66
,
Today: มี.ค. ๒๙, ๒๕๖๗
การบัตรพลี PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๐๗:%M น.

การบัตรพลี



บัตร แปลว่าใบ หมายถึงใบตองกล้วยตานี แล้วนำมาเป็นกระทงสำหรับใส่อาหารคาว หวาน ที่จะกระทำการพลีแด่เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
พลี แปลว่า การให้ การเซ่น ถวาย เสียสละเพื่อการบูชาบัตรพลีหมายถึงการถวายของเครื่องดเซ่นไหว้โดยภาชนะที่ทำด้วยใบตองเป็นกระทงใช้สำหรับพิธีกรรมชั่วคราวหรือเคลื่อนที่และใส่ข้าว กับข้าว กุ้งพล่า ปลายำ หมากพลู บุหรี่ เหรียญเงิน-ทองโดยนำก้านกล้วยมาทำเป็นเครื่องหิ้วเล็ก ลักษณะคล้ายกระโจมยอดแหลมและพื้นทำด้วยหยวกกล้วย เพื่อนำกระทงใบตองมาวาง
บัตรพลีจะมี 4 ลักษณะคือ
1.บัตรพลีเทวดามีชั้น 9 ชั้น ลักษณะเป็นสามเหลี่ยมและใส่กระทง 9 กระทงส่วนมากจะเป็นอาหารคาวหวานมักไม่ค่อยใส่กุ้งพล่าปลายำ ยกเว้นพลีเทวดาชั้นล่าง ๆ การทำบัตรพลีเทวดาเป็นการพลีแบบง่าย ๆเป็นการทำเฉพาะหน้าหรือทำอย่างกระทันหันเพื่อให้เทวดาประทานความสมหวังจึงจัดเครื่องสังเวยถวายอีกที่หนึ่ง
2.บัตรพลีเทพนพเคราะห์ หรือบัตรพลีเพื่อสะเดาะเคราะห์ บูชาดาวประจำวันหรือพระเคราะห์นั้น ๆทำเหมือนข้อ 1 เพียงแต่มีชั้น 7 ชั้น มักจะเน้นกุ้งพล่าปลายำ และของอื่น ๆทุกอย่างข้างต้น แต่ที่แปลกกว่าคือกระทงมักจะมีตามกำลังของเทพประจำดวงดาวเช่น พระอาทิตย์มีกำลังดาว 6 ก็จะมีกระทง 6 ใบ พระจันทร์มีกำลัง 15ก็ใส่กระทง 15 ใบ เป็นต้นสำหรับบัตรพลีพระเคราะห์จะมีธงสีประจำพระเคราะห์นั้น อำนวยตามกำลังวันด้วย
3.บัตรพลีเจ้ากรุงพาลี มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคางหมู มี 5 ชั้นทำด้วยหยวกกล้วยเช่นกัน มีกระทงใส่เครื่องเซ่น 10 กระทงเพราะเจ้ากรุงพาลีมีโอรส 9 องค์ รวมกันเป็น 10 กระทงพอดี
4.บัตรพลีทั่วไปมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมี 3 ชั้น มักใช้บูชาเจ้าที่เจ้าทาง ผีทางสามแพร่งรุกขเทวานางไม้ต่าง ๆ มักใส่ข้าวของไม่จำกัดแล้วแต่พิธี เช่น บัตรพลีเพื่อให้หายป่วยไข้ นอกจาก ข้าว,กับข้าว,กุ้งพล่า ปลายำ หมากพลู บุหรี่เงิน น้ำ เหล้า ตุ๊กตาดินเหนียว (ตุ๊กตกตาเสียกะบาล) เป็นต้น
ตุ๊กตาดินเหนียวเป็นเครื่องใช้แทนตัวแล้วยกขึ้นทูลหัว (กบาล)ให้แก่ผีสางนางไม้ที่ต้องการบริวารโดยวางไว้ทางสามแพร่งหรือต้นไม้ใหญ่ที่โคน ผีสางนางไม้ กระทำให้เจ็บป่วยไข้
ศาลเพียงตาหรือศาลเกยแตกต่างกันหรือเหมือนกัน
อันการกระทำพิธีชั่วคราวหรือเคลื่อนที่จะขาดเสียมิได้คือศาลเพียงตาหรือเกยนี้ซึ่งเราอาจจะนึกว่าศาลเพียงตาและศาลเกยนี้คือแบบเดียวกันแต่ความจริงศาลทั้ง 2 มีลักษณะคล้ายกันแต่ประโยชน์ต่างกันคือ
ศาลเพียงตาคือที่สถิตชั่วคราวของพิธีกรรมการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ท่านมาประทับอยู่บนศาลเพียงตานั้นโดยลักษณะมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตรุรัสชั้นเดียวมักทำด้วยไม้ไผ่ และตั้งเครื่องแทนตัว เทวดาองค์นั้น ๆ ไว้แล้วทำพิธีกรรมต่าง ๆ หน้าศาลเพียงตา โดยจะมี ”เครื่องครู” ตั้งถวายอยู่บนศาลและเมื่อเสร็จพิธีสิ่งศักดิ์ก็คงยังสถิตอยู่บนศาลเพียงตานั้นจนกว่าจะสร้างศาลจริงเสร็จ
ศาลเกยคือที่ที่เทวดาเสด็จผ่านลงมาโดยเป็นท่าลงจากราชพาหนะของแต่ละองค์แล้วเสด็จผ่านเข้าสู่ประรำพิธีอีกทีหนึ่งลักษณะมักจะทำเหมือนชั้นบันได 3 ชั้น อยู่ระดับเพียงตาเช่นกันอาจทำด้วยไม้หรือเหล็กเมื่อเสร็จพิธีเทวดาจะเสด็จขึ้นศาลเกยประทับบนราชพาหนะกลับวิมานศาลเกยจึงรื้อถอนไปใช้ในงานต่อไปได้แต่ศาลเกยมักไม่ค่อยมีรูปหรือตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตั้งไว้มักมีเพียงหมอนอิง บายศรี และเครื่องครู ผลไม้เท่านั้นเพื่อเป็นการแสดงการต้อนรับเข้าสู่บริเวณพิธีอีกทีหนึ่ง
ทั้งศาลเกยและศาลเพียงตามักมีลักษณะการใช้งานไม่เหมือนกันแต่ลักษณะคล้ายกันจึงจำเป็นต้องสังเกตดูว่าพิธีกรรมนั้นจัดหน้าศาลเพียงตาเพียงอย่างเดียวหรือต้องตั้งศาลเกยเพื่อเป็นประตูเข้าสู่ประรำพิธีอีกทีหนึ่ง
สำหรับการจัดศาลด้านบนและมีบายศรีพรหม บายศรีเทพ บายศรีบัลลังก์ บายศรีปากชามตั้งอยู่บนศาลเกยส่วนบายศรีสำหรับศาลเพียงตาจะมีเพียงบายศรีปากชามและเครื่องสังเวยหรือเป็นชั้นล่างของศาลเกยตั้งเครื่องสังเวยก็มี
ราชวัตร ฉัตรธง
-ราชวัตรเป็นสิ่งของที่ทำจากไม้ขัดกัน เพื่อเป็นการกั้นอาณาเขต ปริมณฑลพิธีทั้ง 4มุม ตรงกัน และต้องทาสีขาวตกแต่งแล้วแต่สวยงามราชวัตรยังเป็นที่ตั้งของฉัตร 5 ชั้น 9 ชั้น และ 3 ชั้น อีกด้วยโดยในพิธีของผู้คนธรรมดาทั่วไป ฉัตรตรงกลางราชวัตรคือ 5 ชั้น มุมราชวัตร 2ด้านเป็น 3 ชั้น แต่ถ้าพระราชพิธีขององค์พระมหากษัตริย์ ฉัตรตรงกลางจะเป็น9 ชั้น 7 ชั้น ตามลำดับ เชื้อพระวงศ์ และด้านข้างก็จะเป็น 5 ขั้น 2ด้านจนถึงแค่ 3 ชั้น นอกจากราชวัตรจะไวปักฉัตรแล้วยังต้องมีต้นกล้วยต้นอ้อยอยู่ทั้ง 4 ด้านของประรำหรือไว้รวมกับฉัตรสูงส่วนฉัตรนั้นมีทั้งสีขาวขลิบด้วยสีเงิน 6 ต้น สีทอง 6 ต้นทั้ง เล็กและใหญ่บางแห่งเป็นฉัตรเงินฉัตรทองและก็มีเพื่อความสะดวก
-ธงมักประดับอยู่โดยรอบประรำพิธีราชวัตรนั้นบางแห่งอาจนำสายสิญจน์มาพันโดยรอบประรำพิธี 3 รอบ 5 รอบ 9 รอบแล้วแต่พิธีกรรมราชวัตรพร้อมฉัตรธงมักจะนำไปกั้นปริมณฑลในโรงพิธีและรอบศาลเพียงตาหรือศาลเกยอีกด้วยและมุมในราชวัตรมักจะวางบายศรีปากชามทั้ง 4 มุมและผลไม้ที่ยกเถายกเครือเช่นมะพร้าวทั้งทะลาย กล้วยทั้งเครือเป็นต้นทั้ง 4มุม
-อาสนะหรือบัลลังก์ที่ตั้งรูปเหมือนของครูและเทวดา ตลอดจนอาสนะของผู้ประกอบพิธี (พราหมณ์-โหรา) ตลอดจนประธานในงานพิธีนั้น ๆ
-ขันน้ำมนต์ ขันข้าวสาร ขันใส่ข้าวตอกดอกไม้ รวม 3 ใบ ใบพลูสวย ๆ 9 ใบ หมากสด 9 ลูก
-ด้ายสายสิญจน์ ผ้าขาว น้ำอบน้ำปรุง
-ธูปเทียน ผงไม้หอม เทียนชัย
-ผงขมิ้น น้ำดื่ม น้ำผึ้ง นมสดจืด (ฮินดูมักใช้)
-หมากพลู บุหรี่ เหล้า
-บายศรีต่าง ๆ ....

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๕:%M น.
 
Secured by Siteground Web Hosting