สถิติผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterToday16
mod_vvisit_counterYesterday47
mod_vvisit_counterThis week63
mod_vvisit_counterLast week291
mod_vvisit_counterThis month147
mod_vvisit_counterLast month2671
mod_vvisit_counterAll days546518

Online (20 minutes ago): 2
Your IP: 44.210.149.218
,
Today: พ.ย. ๐๓, ๒๕๖๗
ยกเสาเอก PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันอังคารที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๐๗:%M น.

พิธียกเสาเอก

           ชาวไทยในสมัยก่อนต่างมีความเชื่อกันอยู่หลากหลายแบบด้วยกัน ซึ่ง ความเชื่อสำหรับการจะสร้างบ้านให้ผ่านไปอย่างง่ายดายและอยู่อย่างมั่นคง ทำให้เกิดพิธียกเสาเอกขึ้นมาซึ่งเสาเอก  คือ เสาต้นแรกของเรือนที่จะยกขึ้น อันเกี่ยวกับพิธีทางไสยศาสตร์ มีการกำหนดฤกษ์ยาม ทิศทาง ตามแต่หมอจะเป็นผู้ดูให้         การทำพิธียกเสาเอกจะทำให้งานก่อสร้างมีความราบรื่นไม่มีปัญหาและอุปสรรคและเมื่อได้เข้าอยู่บ้านหลังที่สร้างแล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข  และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา  และบ้านทุกหลังที่มีการก่อสร้าง  มักจะทำพิธียกเสาเอกเพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย  แต่พิธีการ  และขั้นตอนอาจแตกต่างกันในรายละเอียด  บ้านบางหลังจะทำพิธียกเสาเอก  โดยพระอาจารย์ที่เคารพนับถือ  บางหลังทำพิธีโดยพราหมณ์  และบางหลังทำพิธีโดยผู้ใหญ่หรือบุคคลที่เคารพนับถือ

การกำหนดฤกษ์เสาเอก

การกำหนดฤกษ์เสาเอกนั้น  ส่วนใหญ่ก็คงต้องให้ผู้ที่เรานับถือ  เช่น  พระอาจารย์  พราหมณ์  หรือผู้ใหญ่ที่เรานับถือ  ดูฤกษ์ดูยามในการทำพิธียกเสาเอกให้  โดยท่านเหล่านั้นก็จะหาวันและเวลาที่เป็นมงคลให้เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เราสะดวกที่จะสร้างด้วย  ถ้าหากไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกในการตามหาพระอาจารย์ทั้งหลายมาให้ฤกษ์ให้ยาม  คุณอาจจะหาฤกษ์ด้วยตนเองก็ได้  โดยอาจจะดูจากปฏิทิน  100  ปี  หรือหาซื้อหนังสือโหราศาสตร์  ประเภทสรุปรวมฤกษ์ประจำทั้งปี  ซึ่งหนังสือพวกนี้จะออกวางตลาดตอนปลายปีทุกปี  ลองอ่านและหาฤกษ์ด้วยตนเองได้

การทำพิธียกเสาเอกกับขั้นตอนการสร้างบ้าน

ในสมัยโบราณ  การก่อสร้างบ้านส่วนใหญ่เป็นการสร้างบ้านไม้  เสาบ้านก็เป็นเสาไม้  ดังนั้นฤกษ์ลงเสาเอกก็คือ  ฤกษ์เวลาที่เรานำเสาหลักของบ้านหย่อนลงสู่หลุมที่เตรียมเอาไว้ จัดเสาให้ตั้งตรง  และเอาไม้ค้ำยันค้ำไว้  เอาดินกลบหลุมทั้งหมด  แต่ในปัจจุบัน  ขั้นตอน  และวิธีการก่อสร้างได้เปลี่ยนไป  อาคารปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วแต่เป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก  ต้องมีการตอกเสาเข็ม  ต้องมีการเทฐานราก  ทำตอม่อ  แล้วจึงจะขึ้นเสาโผล่พื้นดินได้  ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจว่าพิธียกเสาเอกกับการสร้างในปัจจุบันที่เป็นโครงสร้างคอนกรีตนั้น  เขาทำกันในช่วงไหนของการก่อสร้าง  ซึ่งจากประสบการณ์ในการก่อสร้างที่ผ่านมา  พิธียกเสาเอก  จะทำกันได้ใน  3  ลักษณะดังนี้

                1.  ยึดเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นแรก  หรือเวลาที่ตอก (เจาะ) เสาเข็มต้นที่กำหนดให้เป็นเสาเอก (น่าจะเรียกได้ว่าเป็น “ฤกษ์” เข็มเอก) 

               2.  ยึดเวลาที่ยกเสาเหล็กเสริม  เทคอนกรีตฐานราก (จะเทคอนกรีตฐานรากพร้อมกับการตั้งเหล็กเสาต้นที่เป็นเสาเอก) 

               3.  ยึดเวลาที่มีการเทคอนกรีตหล่อเสาอาคารจริงๆ (ซึ่งอาจจะตั้งหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างแล้วเป็นเดือน)  โดยในที่นี้เราจะกล่าวถึงเฉพาะการเตรียมการ  เตรียมของใช้และขั้นตอนในการยกเสาเอกแบบ  ที่ยึดเวลาที่ยกเสาเหล็กเสริมขึ้นตั้งและเทคอนกรีตฐานราก  ซึ่งเป็นลักษณะที่การสร้างบ้านในส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้กัน

การเตรียมการหน้างานในพิธียกเสาเอก

การเตรียมหน้างานก่อสร้างให้พร้อมก่อนการทำพิธียกเสาเอกถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะว่าฤกษ์  ในพิธียกเสาเอก  เป็นฤกษ์เวลาที่แน่นอน  เช่นบางหลังกำหนดที่เวลา  9.09 น.  ดังนั้นการเตรียมการหน้างานที่ไม่พร้อมอาจทำให้เกิดปัญหาขลุกขลัก  ทำให้เกิดความผิดพลาดไม่ตรงกัน  ฤกษ์ที่กำหนดไว้  เกิดความไม่สบายใจได้  ดังนั้นการเตรียมการหน้างานให้มีความพร้อมนั้นจะต้องจัดเตรียมงานดังนี้

                1.  การเตรียมพื้นที่  โดยรอบของบริเวณที่จะทำพิธีให้เรียบร้อย  เพื่อสะดวกในการทำพิธี

                2.  ขุดหลุมฐานรากที่จะทำพิธีให้มีขนาดความลึกและความกว้างตามแบบ

                3.  ปรับพื้นที่ก้นหลุมให้เรียบร้อยเก็บเศษปูนเศษไม้ให้หมด  ปรับระดับให้เรียบด้วยทรายหยาบ

                4.  เตรียมผูกเหล็กเสริมฐานรากไว้ด้านบน  พร้อมที่จะยกลงตอนทำพิธี

                5.  เตรียมผูกเหล็กเสาที่จะทำการยกเสาเอกวางพาดไว้  ตรงปากหลุมโดยยกหัวเสาให้สูงขึ้นกว่าโคนเสา

                6.  เตรียมคอนกรีตให้พร้อมเพื่อเตรียมเทหลังจากที่ยกเสาเหล็กขึ้นตั้งแล้ว 

การเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอก

การเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอกนั้นมีอยู่หลายตำราด้วยกัน  แล้วแต่ผู้ที่เรานับถือที่จะดำเนินการทำพิธีให้เป็นผู้กำหนด  แต่ในที่นี้เราจะอ้างอิงจาก  ศาสนพิธี”  ในหนังสือพุทธศาสตร์  ปีที่  43  อันดับที่ 1/2543  โดยการเตรียมของใช้ในพิธียกเสาเอกมีดังนี้

                1.  จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์) 

               2.  จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ  1  ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม  และเจริญชัยมงคลคาถา)

                3.  เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้  ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)

                4.  ใบทอง นาก เงิน  อย่างละ  3  ใบ 

               5.  ทอง  เงิน  อย่างละ  9  เหรียญ 

               6.  ทรายเสก  1  ขัน 

               7.  น้ำมนต์  1  ขัน  (พร้อมกำหญ้าคา  1  กำ) 

               8.  ด้ายสายสิญจน์  1  ม้วนเล็ก 

               9.  ทองคำเปลว  3  แผ่น 

               10. ผ้าแพรสีแดง  ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า  1  ผืน  

              11. หน่อกล้วย  อ้อย  อย่างละ  1  หน่อ     

                12. ไม้มงคล  9  ชนิด  ได้แก่  กันเกรา  ทรงบาดาล  ชัยพฤกษ์  ราชพฤกษ์  ขนุน  สักทอง  ทองหลาง  ไผ่สีสุก  พยุง 

               13. แผ่นทอง  นาก  เงิน  อย่างละ  1  แผ่น 

               14. ข้าวตอกดอกไม้  1  ขัน

ลำดับพิธีในการยกเสาเอก

การทำพิธียกเสาเอกก็มีหลายตำรา  แล้วแต่ผู้ดำเนินพิธี  แต่ในที่นี้เราก็จะอ้างอิงจาก  ศาสนพิธี”  ในหนังสือพุทธศาสตร์  ปีที่  43  อันดับที่  1/2543  เช่นกัน  โดยลำดับพิธีขอบงการยกเสาเอกมีดังนี้ 

               1.  วางสายสิญจน์  เริ่มจากโต๊ะบูชาไปโต๊ะสังเวยขวา  บริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์พอสมควร) 

               2.  จุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา  อธิษฐานเพื่อเกิดสิริมงคล  กราบพระ

                3.  จุดเทียนธูปที่โต๊ะสังเวย  บูชาเทวดาให้คุ้มครอง

                4.  กล่าวสังเวยเทวดา 

               5.  โปรยดอกไม้มงคล  9  ชนิด  ลงในหลุมเสาเอก (ถ้ามี) 

               6.  วางแผ่นทอง  นาก  เงินในหลุมเสาเอก (ถ้ามี)

                7.  นำใบทอง  นาก  เงิน  และเหรียญทอง  เงิน  ลงก้นหลุมแล้วนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์โปรยทรายเสกที่หลุมเสา

                8.  เจิมและปิดทองเสาเอก 

               9.  ผูกหน่อกล้วย  อ้อย  และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก

                10. ถือด้ายสายสิญจน์  พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี 

               11. ช่วยกันยกเสาเอก  จนตั้งเรียบร้อย (ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) (ถ้ามี)

                12. โปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก  พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธีเสร็จพิธี 

                      -  ถ้ายกเสาเอกในเดือน 1-2-3  เสาเอก  อยู่ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จะอยู่ดีกินดี เป็นมหาสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยเรือนนั้น 

                      -  ถ้ายกเสาเอกในเดือน 4 – 5 – 6  เสาเอก  อยู่ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จะเกิดโชคลาภ เป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย 

                      -  ถ้ายกเสาเอกในเดือน 7 – 8 – 9  เสาเอก  อยู่ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ผู้อยู่อาศัยในเรือน ปลอดภัยไร้โรคภัย มีโชคลาภ 

                       -  ถ้ายกเสาเอกในเดือน  10 – 11 – 12  เสาเอก  อยู่ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จะเกิดสิริมงคล พ้นเคราะห์ภัย ไม่อับจน

                13. เมื่อธูปที่โต๊ะสังเวยไหม้หมดดอก  ให้ลาเครื่องสังเวยได้ว่า  “เสสัง  มังคะลัง  ยาจามิ”

                14. หน่อกล้วย  อ้อย  เมื่อช่างเอาลงจากเสาแล้ว  ให้นำไปปลูกไว้ในที่ต้องการ  เพื่อเสี่ยงทายว่าจะงอกงามเพียงใด

                       -  ถ้าจัดโต๊ะสังเวยไม่ได้  จะจัดเป็นสำรับบูชาพระภูมิเจ้าที่ธรรมดาก็ได้  และสิ่งประกอบอื่นๆ  ก็เลือกเอาเท่าที่จำเป็นและหาได้ง่าย

 ปีที่ปลูกเรือนเสริมสิริมงคล

ปลูกเรือนปีชวดยกเสาเอก ให้เอาไม้ราชพฤกษ์ปักเสามุมแรก ก่อนยกเสาเอกเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และโปรยดอกไม้ 3 สี สีที่เป็นสิริมงคล ดอกกุหลาบ ดอกรัก ดอกพุทธ และบวงสรวงด้วย กล้วยที่เป็นมิ่งขวัญปีเกิด จะทำให้ อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากินเจริญยิ่งขึ้น 

ปลูกเรือนปีฉลู       ยกเสาเอก เอากล้วยและผ้าขาว พันเสาเอก เอากิ่งมะตูม 3 กิ่ง ปักที่เสาเอก และบวงสรวงด้วยลูกตาล ขนมฝอยทอง จะทำให้มีแต่สิ่งดี ๆ เข้าบ้านและมีความสุขความเจริญ

 ปลูกเรือนปีขาล        ยกเสาเอก เอาข้าวสุก 3 กระทง และน้ำ 3 ขัน ขันเงิน ขันทอง ขันนาก รดที่ต้นเสาก่อนแล้วโปรย ดอกไม้ 3 ชนิด ดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย เพื่อเป็นเคล็ดให้ร่ำรวย อยู่เย็นเป็นสุข

 ปลูกเรือนปีเถาะ       ยกเสาเอก เอาใบตะเคียน ใบเฉียง ใบพร้าหอม ต้นกล้วย 1 ต้นห่อปลายเสา แล้วบวงสรวงด้วย หมูย่าง ปลายำ จะทำให้รุ่งเรือง

 ปลูกเรือนปีมะโรง      ยกเสาเอก เอาใบมะกรูด และกำยานพันปลายเสาก่อนแล้วจึงยกเสาเอก แล้วโปรยดอกไม้มงคล 7 ชนิด ดอกรัก ให้รักใคร่กัน ดอกดาวเรือง ให้เจริญรุ่งเรือง ดอกบัว ให้มีคนนับถือ ดอกกุหลาบ ให้สุขสด ชื่น ดอกบานไม่รู้โรย ให้มั่งมีอย่างไม่รู้โรย ดอกพุทธ ให้พระคุ้มครอง ดอกมะลิ ให้อยู่เย็นเป็นสุข อธิษฐาน จะทำให้ร่ำรวย มั่งมี เป็นสุขตลอดไป

 ปลูกเรือนปีมะเส็ง     ยกเสาเอก เอาใบสิงห์ 2 กิ่ง ผูกที่ปลายเสา และข้าว 3 กระทง ธูปเทียนจุดบูชา ทั้งบูชาดอกกุหลาบ พวงมาลัย มะลิสด ดอกรัก น้ำเย็น 6 ขัน แล้วพูดว่า มั่ง มี ศรี สุข ใช่ จึงยกเสาเอก จะทำให้รุ่งเรืองขึ้น

 ปลูกเรือนปีมะเมีย      ยกเสาเอก เอาใบขี้เหล็ก กวาดตั้งแต่ปลายเสาลงมาถึงโคนเสา 3 ครั้งแล้วเอาน้ำรดปลายเสา ให้อด ใจรอจนถึงเวลาไก่ขัน และบวงสรวง กล้วย มะพร้าว ส้ม จงลงเสาเอก จึงจะร่มเย็นเป็นสุข

ปลูกเรือนปีมะแม       ยกเสาเอก เอาใบเงิน 3 ใบ หมากผู้ 3 ใบ หมากเมีย 3 ใบ แล้วเอาใบทั้งกล้วยอ้อยใส่ลงไปในหลุม ก่อน แล้วจึงยกเสาเอก แล้วบวงสรวง กล้วย อ้อย มะพร้าว ขอพรจะเสริมสิริมงคลให้มีโชคลาภตลอดไป

 ปลูกเรือนปีวอก       ยกเสาเอก เอาเทียน 3 เล่ม แปะทองผูกข้างเสาด้านหัวนอนก่อน และนำใบเงิน ใบทอง ใบนาก ลงฐานหลุมแล้วจึงยกเสาเอก จะทำให้มั่งมี ศรีสุข ตลอดกาล

ปลูกเรือนปีระกา             ยกเสาเอก เอาข้าวตอกกับใบบัวบก มาใส่รองรับเอาไว้ในหลุมเสาเอก และเสารอง หรือใส่ให้ครบ 4 ทิศ จะเสริมมงคลให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข และบวงสรวงด้วย ข้าว แกง แอปเปิล ดอกบัวหลวง ขอพร จะทำให้มั่งมีศรีสุข

ปลูกเรือนปีจอ                 ยกเสาเอก เอาข้าวตอกกับใบบัวบก มาใส่รองรับเอาไว้ในหลุมเสาเอก หรือใส่ให้ครบ 4 ทิศ และบูชา ด้วยดอกบัวเหลวง จะทำให้มีคนอุปถัมภ์

ปลูกเรือนปีกุน         ยกเสาเอก เอาดอกชบา 1 ดอก และดอกบัวอีก 1 ดอก ใส่หลุมเสาเอก แล้วลงเสาเอก ฤกษ์ 9.09น. จะทำให้มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป


แหล่งที่มา

1.http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81#.E0.B8.9E.E0.B8.B4.E0.B8.98.E0.B8.B5.E0.B8.A2.E0.B8.81.E0.B9.80.E0.B8.AA.E0.B8.B2.E0.B9.80.E0.B8.AD.E0.B8.81

2.http://www.89homebuilder.com/informativenessdetail.php?informativenessid=21

3.http://rewolf-nus.exteen.com/20080903/entry
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐:%M น.
 
Secured by Siteground Web Hosting